การคัดเลือกต้นหวายเพื่อนำมาชักเรียด
-การสังเกตุสีของลำต้น ลักษณ์ของสีที่เปลือกผิวต้องมีเม็ดสีที่กลมกลืน สม่ำเสมอตลอดลำ ไม่มีรอยด่าง บางกรณีที่ที่มีกะสี ต้องมีกะสีที่สม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งลำ
-การสังเกตุความแข็งของลำหวายที่ดี เมื่อจับลำของต้นหวายดัดงอแล้วปล่อยมือเพื่อให้ลำต้นของหวายคืนตัวต้องสามารถคืนตัวเป็นเส้นตรง ไม่บิดงอหรือหัก ถ้าบิดงอคืนไม่ตัวหมดแสดงว่าหวายต้นนั้นยังอ่อนไป และถ้าเส้นหวายหักแสดงว่าแก่เกินไป
หลักการสังเกตุว่าส่วนใดเป็นส่วนโคนหรือส่วนปลายของลำหวาย
-สังเกตุด้วยการสัมผัสด้วยมือที่บริเวณข้อเปลือกหุ้ม ถ้าใช้มือลูบสัมผัสตามลำของต้นหวายแล้วรู้สึกเรียบ สบายมือ แสดงว่าเราได้ลูบมาจากทางด้านโคน แต่ ถ้าใช้มือลูบสัมผัสตามลำของต้นหวายแล้วรู้สึกสดุด เหมือนโดนหนามเล็กๆ แสดงว่าเราได้ลูบมาจากทางด้านปลายของลำหวาย
-ลักษณะของข้อหวายเมื่อสังเกตุด้วยสายตาจะเห็นว่า เปลือกที่หุ้มทางด้านโคนของลำหวายจะราบเรียบเป็นเนื้อเดียว
-การสังเกตุด้านโคนและด้านปลายของลำหวายเมื่อผ่านการเกลาที่ปรับแต่งเส้นหวายแล้ว ให้สังเกตุที่บริเวณข้อหวายที่ชี้ด้านโคนหวายจะมีรอยตัดเฉือนเนื้อออก เพราะว่าเปลือกที่ห่อหุ้มทางด้านโคนจะมีความหนากว่าด้านปลาย
การเกลาข้อหวายนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพบริเวณพื้นผิวของลำหวายให้มีความราบเรียบ สม่ำเสมอและมีความสำคัญมากก่อนที่จะผ่านกรรมวิธีการชักเรียดเส้นหวาย
Custom Search
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น