มหัศจรรย์เส้นหวายแห่งโลก
โฆษณาออนไลน์,
โฆษณา,ออนไลน์,ลงโฆษณา,ประกาศ,online advertising,online
,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote website,
seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,
สื่อ

โฆษณา,โฆษณาออนไลน์,การโฆษณา,สื่อโฆษณา,การตลาด,บริษัทโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ลงโฆษณา,ประกาศ,ออ

นไลน์,online,online advertising,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote 

website,seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,สื่อ

โฆษณา,โฆษณาออนไลน์,การโฆษณา,สื่อโฆษณา,การตลาด,บริษัทโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ลงโฆษณา,ประกาศ,ออ

นไลน์,online,online advertising,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote 

website,seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,สื่อ
Custom Search

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประวัติความเป็นมาเครื่องจักรสานหวายไทย

ประวัติความเป็นมาเคริ่องจักรสานงานหวายไทย
เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์มาช้านาน จัดเป็นงานหัตถกรรมเก่าแก่ที่สุดของ โลกประเภทหนึ่ง เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยการดำรงชีวิตของมนุษย์เครื่องจักสานไม้ไผ่ และหวายของไทยก่อกำเนิดขึ้นมา จากชีวิตของมนุษย์ เครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายของไทยก่อกำเนิดขึ้นมาจากชีวิตความเป็นอยู่ระดับพื้นบ้านในสังคม เกษตรกรรม และวิวัฒนาการเรื่อยมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังยักรุ่นหนึ่งต่อกันไป เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุดมีการพัฒนา รูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงามน่าใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือใช้สอยในพิธีกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศเป็นมรดกสืบทอดอันยาวนานจนกลายเป็นหัตถกรรมความสำคัญของเครื่องจักสานไม้ไผ่ และหวายของไทยได้ปรากฎหลักฐานในตำนานของชาติไทยกล่าวถึงเครื่องจักสานที่เรียกว่า ชะลอม กระออม หรือครุได้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ให้พ้นอำนาจจากขอม จนได้อิสระภาพ และเริ่มตั้งประเทศไทยขึ้น ดังปรากฏ ในบันทึกพงศาวดารเหนือเรื่อง พระร่วง เป็นผู้คิดริเริ่มทำเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ และหวายโดยสานเป็นตาถี่ ที่เรียกว่าชะลอม หรือกระออม และมีชันยาทาภายในโดยรอบเพื่อใช้ตักน้ำไม่รั่ว น้ำหนักเบา ขนย้ายง่ายสะดวกกว่าการใช้เครื่องปั้นดินเผา ในสมัย นั้นกระออมหรือครุ จัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดขึ้นใหม่ ประชาชนจึงตื่นเต้นเห็นเป็นของวิเศษ ส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในบุญบารมี ของพระร่วง ข้าศึกขอมกลัวเกรงพากันหลบหนีไป พระร่วงจึงเป็นหัวหน้าทำการสงครามรบชนะข้าศึก เป็นอิสรภาพพ้นอำนาจ จากขอมและตั้งประเทศไทยขึ้น เป็นกษัตริย์ปกครอง โดยยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีตั้งแต่นั้นมา
นอกจากนั้นในสมัยโบราณมีการทำเสื้อเกราะ ให้กับนักรบไทย สานด้วยหวายเพื่อป้องกันอาวุธของมีคมได้พอสมควร รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์โล่หวาย ทั้งนี้เพราะวัสดุหวายมีแรงยืดหยุ่นสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เหมาะในการทำหัตถกรรมเครื่องจักสาน มีความแข็งแรงทนทานดี
หลักฐานอื่นๆ ที่ปรากฎเรื่องราวของเครื่องจักสานคือภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังตามวัดวาอารามหลายแห่งในประเทศไทย เช่นในอุโบสถวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนหลักฐานที่สำคัญซึ่งเพิ่งค้นพบคือภาพเขียนบริเวณหน้าผา ที่มีแนวขนานไปกับลำน้ำโขงเขตบ้านกุ่มอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นภาพรูปสัตว์ และสิ่งของที่มีรูปร่างคล้ายเครื่อง จักสานสำหรับจับสัตว์น้ำ พบเห็นได้ตามลำน้ำโขงทั่วไป คือ สุ่มหรือข้องจึงเป็นหลักฐานเครื่องยืนยันว่าเครื่องจักสานไม้ไผ่หรือหวาย มีการทำขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งโบราณกาลและสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การทำงานหัตถกรรมเครื่องจักสานของไทย มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม ช่างสานคือเกษตรกรรมในชนบท จะใช่ช่วง เวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนา เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาผลิตงานหัตถกรรมด้วยใจรัก เพื่อความสุขความเพลิด เพลินตลอดจนสนองประโยชน์ใช้สอยต่อตนเองและครอบครัว รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่และหวาย จึงเป็นศิลปหัตถกรรม พื้นบ้านที่มีความงามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกของความคิดเฉลียวฉลาด ตลอดจนความ สามารถของช่างสานในการเข้าใจวัสดุไม้ไผ่และหวายผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ส่งผลให้มีการพัฒนารูป แบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเป็นจำนวนมาก
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์หวาย
พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย
ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย