มหัศจรรย์เส้นหวายแห่งโลก
โฆษณาออนไลน์,
โฆษณา,ออนไลน์,ลงโฆษณา,ประกาศ,online advertising,online
,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote website,
seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,
สื่อ

โฆษณา,โฆษณาออนไลน์,การโฆษณา,สื่อโฆษณา,การตลาด,บริษัทโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ลงโฆษณา,ประกาศ,ออ

นไลน์,online,online advertising,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote 

website,seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,สื่อ

โฆษณา,โฆษณาออนไลน์,การโฆษณา,สื่อโฆษณา,การตลาด,บริษัทโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ลงโฆษณา,ประกาศ,ออ

นไลน์,online,online advertising,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote 

website,seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,สื่อ
Custom Search

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เมล็ดข้าวสารจักสานหวาย








ผลงานอันยิ่งใหญ่ของ อ.นพดล สดวกดี ได้สร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์อีกครั้งด้วยการนำเส้นหวายที่เล็กกว่าเส้นผมมาจักสานห่อหุ้มเมล็ดข้าวสาร ซึ่งกว่าจะได้ผลงานนี้ออกมานั้นคงไม่ต้องบอกว่าผู้ที่ทำต้องมีความสามารถมากแค่ไหน และคงไม่ต้องโม้อะไรกันมากถ้าอยากเห็นของจริงก็ติดต่อมาที่ 08-5347-5901


วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภาพเหตุการในงานสงกรานต์ลานบุญที่จัดในห้างซีคอนสแควร์


เมล็ดข้าวสาร กับ การจักสานข้าวสาร
มหัศจรรย์แห่งการจักสาน ด้วยเส้นหวายที่เล็กกว่าเส้นผม























เส้นหวายและผลิตภัณฑ์จักสานหวายของเรา ได้ผ่านการพิสูจน์จากสื่อมวลชนและผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมนับหมื่น ที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ๑๐-๑๕ เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งเราได้ทำการพัฒนาฝีมือการชักเรียดเส้นหวาย ได้เล็กกว่าเส้นผมซึ่งเป็นที่หนึ่งในโลก ผลงานของเราได้รับรางวัลนานาชาติ ในงานเราได้จัดแสดงผลงานและการเรียงลำดับเส้นหวายจากขนาดปกติจนถึงเส้นที่เล็กกว่าเส้นผม สำหรับผู้ที่สนใจแต่พลาดโอกาสที่ไปเยี่ยมชม สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
e-mail: manpyya@thaimail.com




ฟรีร้านออนไลน์ ช๊อบปิ้ง โปรโมทเว็บ เกมส์ ดูดวง ฟรีทุกอย่าง

การคัดเลือกและสังเกตุต้นหวายเพื่อนำมาชักเรียด

การคัดเลือกต้นหวายเพื่อนำมาชักเรียด
-การสังเกตุสีของลำต้น ลักษณ์ของสีที่เปลือกผิวต้องมีเม็ดสีที่กลมกลืน สม่ำเสมอตลอดลำ ไม่มีรอยด่าง บางกรณีที่ที่มีกะสี ต้องมีกะสีที่สม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งลำ
-การสังเกตุความแข็งของลำหวายที่ดี เมื่อจับลำของต้นหวายดัดงอแล้วปล่อยมือเพื่อให้ลำต้นของหวายคืนตัวต้องสามารถคืนตัวเป็นเส้นตรง ไม่บิดงอหรือหัก ถ้าบิดงอคืนไม่ตัวหมดแสดงว่าหวายต้นนั้นยังอ่อนไป และถ้าเส้นหวายหักแสดงว่าแก่เกินไป
หลักการสังเกตุว่าส่วนใดเป็นส่วนโคนหรือส่วนปลายของลำหวาย
-สังเกตุด้วยการสัมผัสด้วยมือที่บริเวณข้อเปลือกหุ้ม ถ้าใช้มือลูบสัมผัสตามลำของต้นหวายแล้วรู้สึกเรียบ สบายมือ แสดงว่าเราได้ลูบมาจากทางด้านโคน แต่ ถ้าใช้มือลูบสัมผัสตามลำของต้นหวายแล้วรู้สึกสดุด เหมือนโดนหนามเล็กๆ แสดงว่าเราได้ลูบมาจากทางด้านปลายของลำหวาย
-ลักษณะของข้อหวายเมื่อสังเกตุด้วยสายตาจะเห็นว่า เปลือกที่หุ้มทางด้านโคนของลำหวายจะราบเรียบเป็นเนื้อเดียว
-การสังเกตุด้านโคนและด้านปลายของลำหวายเมื่อผ่านการเกลาที่ปรับแต่งเส้นหวายแล้ว ให้สังเกตุที่บริเวณข้อหวายที่ชี้ด้านโคนหวายจะมีรอยตัดเฉือนเนื้อออก เพราะว่าเปลือกที่ห่อหุ้มทางด้านโคนจะมีความหนากว่าด้านปลาย
การเกลาข้อหวายนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพบริเวณพื้นผิวของลำหวายให้มีความราบเรียบ สม่ำเสมอและมีความสำคัญมากก่อนที่จะผ่านกรรมวิธีการชักเรียดเส้นหวาย

กำเนิดสุดยอดผลิตภัณฑ์สานงานหวายของไทย
















อาจารย์ นพดล สดวกดี





สิงห์บุรีสำเภาทองเรือจำลองจักรสาน SSG 999
จุดกำเนิดสุดยอดผลิตภัณฑ์สานงานหวายของไทย จุดกำเนิด นพดล สดวกดี
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ประเทศไทยได้ค้นพบอัจฉริยะด้านการจักรสานหวายซึ่งเป็นผลงานสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่มีความแปลกใหม่ โดยนำชิ้นไม้ ไม้ไผ่และหวาย มาสร้างสรรผลงานในรูปแบบเรือสำเภาจำลอง ได้นำเทคนิคการจักรสานหวายมาประยุกต์ใช้อย่างลงตัว มีรายละเอียดเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ประณีตวิจิตรบรรจงสร้าง จนชนะใจคณะกรรมการได้รับรางวัลสาขาปรัชญาจาก คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ในครั้งนั้น อาจารย์ นพดล ได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจ เริ่มศึกษาเทคนิคและกรรมวิธีจักรสานหวายท่านใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนพัฒนาฝีมือจนเกิดความชำนาญสามารถสร้างเส้นหวายที่มีความเรียวเล็กขนาดเส้นผ่าศุนย์กลาง 0.25-0.33 มิลลิเมตร เล็กกว่าเข็มเย็บผ้า ปัจจุบันท่านเป็นคนเดียวในประเทศไทยและในโลกที่สามารถสร้างเส้นหวายให้เล็กได้ขนาดนี้ และในแต่ละเส้นมีความยาวไม่ต่ำกว่า ๒ เมตร
เกร็ดความรู้ผลิตภัณฑ์หวายไทยของ อาจารย์ นพดล สดวกดี ( ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25-0.33 มิลลิเมตร )
- หวายต้องคัดเลือกต้นหวายจากสายพันธุ์ หวายหอม เท่านั้น ซึ่งหวายหอมจะมีคุณสมบัติทีเหมาะสมแก่การนำมาสร้างสรรผลิตภัณฑ์ เป็นหวายที่มีผิวอ่อน ไม่คมบาดมือ มีความเนียน นุ่มน่าสัมผัส ให้สีขาวสว่างเป็นมันวาว หวายหอมเป็นพืชป่า ยังไม่สามารถเพาะปลูกในพื้นที่การเกษตรได้เนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อม หวายหอมได้ถูกกำหนดเป็นไม้ป่าสงวนมีระยะเวลาในการเข้าไปตัด และผู้ที่จะไปตัดหรือนำออกมานั้นต้องทำเรื่องขอสัมปะทานจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อจำกัดในช่วงฤดูฝน หรือ ฤดูหนาว ผู้รับสัมปะทานอาจไม่สามารถเข้าไปเก็บหวายได้จึงเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ และหวายเป็นพืชธรรมชาติต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี ถ้าจัดเก็บในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ได้รับความร้อน ความชื้น มากเกินไป เก็บไว้นานจนทำไห้เนื้อหวายแห้ง เปราะและแข็ง จะไม่สามารถนำมาชักเรียดหวาย ให้มีความละเอียดตามที่ต้องการได้
- การสรรสร้างเครื่องมือที่ชักเรียดและขัดเกลาหวายจากขนาดของลำต้น ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 มิลลิเมตร จนสามารถลดขนาดของเส้นผ่าศูนกลางลงเหลือ 0.25-0.33 มิลลิเมตร ซึ่งจานชักเรียดที่ใช้ ต้องมีคุณสมบัติเป็นมีดเหลา มีดกลึง และขัดเกลาเส้นหวายไม่สามารถนำดอกสว่านและเครื่องมือตามท้องตลาดทั่วไปมาสร้างได้ ต้องใช้เทคนิคและความรู้ด้านการชักเลียดเป็นการเฉพาะสร้างขึ้นมา จานชักเรียดหวายจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญลำดับต้นๆที่สร้างเส้นหวายให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตามที่กำหนดไว้ คลิ๊กเพื่อชมภาพ
- มีดผ่าหวาย เป็นมีดที่ต้องสั่งทำขึ้นมาเฉพาะ เป็นมีดปลายแหลม คมมีดจะเป็นรูปจันทร์เสี้ยวเพื่อสัมพันธ์กับมือที่บังคับเส้นหวาย มีด้ามจับที่มีความยาวเพื่อใช้ในการบังคับหน้ามีดในเวลา เกลาเนื้อหวาย ซึ่ง ด้ามมีดนี้สำคัญมากในการช่วยส่งแรงไปสู่คมมีด ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ manpyya@thaimail.com

ผลงานและรางวัลที่ผ่านมา
-ผลงานประดิษฐ์คิดค้น สิงบุรีสำเภาทองเรือจำลองจักรสาน SSG 999 ได้รับรางวัลชมเชย จากสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา พ.ศ. ๒๕๔๙
-หนังสือรับรองลิขสิทธิ์ สิงบุรีสำเภาทองเรือจำลองจักรสาน SSG 999 ให้ไว้วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
-ผลงานประดิษฐ์คิดค้น กระเป๋าหวายไม้มงคลเก้าชนิดประเภทกระเป๋าถือได้รับรางวัลชมเชย จากสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา พ.ศ. ๒๕๕๑ ( กระเป๋าหวาย คู่บารมี )
ซึ่งเป็นผลงานที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมงกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ทรงชื่นชมโสมนัสกระเป๋าหวายไม้มงคล ที่อาจารย์ นพดล ได้รังสรรค์ผลงานออกมาเป็นกระเป๋าหวายเพียงคู่เดียวที่ทั้ง
สองพระองค์ทรงได้สัมผัสด้วยพระหัตถและทรงทอดพระเนตรผ่านแว่นขยาย ในงานนั้นมีข้าราชบริพารในราชสำนักและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ต่างทึ่งและให้ความสนใจในกระเป๋าหวายที่อาจารย์นพดลสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจง ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ manpyya@thaimail.com

ประวัติความเป็นมาเครื่องจักรสานหวายไทย

ประวัติความเป็นมาเคริ่องจักรสานงานหวายไทย
เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์มาช้านาน จัดเป็นงานหัตถกรรมเก่าแก่ที่สุดของ โลกประเภทหนึ่ง เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยการดำรงชีวิตของมนุษย์เครื่องจักสานไม้ไผ่ และหวายของไทยก่อกำเนิดขึ้นมา จากชีวิตของมนุษย์ เครื่องจักสานไม้ไผ่และหวายของไทยก่อกำเนิดขึ้นมาจากชีวิตความเป็นอยู่ระดับพื้นบ้านในสังคม เกษตรกรรม และวิวัฒนาการเรื่อยมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังยักรุ่นหนึ่งต่อกันไป เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุดมีการพัฒนา รูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงามน่าใช้ในการอุปโภคบริโภค หรือใช้สอยในพิธีกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศเป็นมรดกสืบทอดอันยาวนานจนกลายเป็นหัตถกรรมความสำคัญของเครื่องจักสานไม้ไผ่ และหวายของไทยได้ปรากฎหลักฐานในตำนานของชาติไทยกล่าวถึงเครื่องจักสานที่เรียกว่า ชะลอม กระออม หรือครุได้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ให้พ้นอำนาจจากขอม จนได้อิสระภาพ และเริ่มตั้งประเทศไทยขึ้น ดังปรากฏ ในบันทึกพงศาวดารเหนือเรื่อง พระร่วง เป็นผู้คิดริเริ่มทำเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ และหวายโดยสานเป็นตาถี่ ที่เรียกว่าชะลอม หรือกระออม และมีชันยาทาภายในโดยรอบเพื่อใช้ตักน้ำไม่รั่ว น้ำหนักเบา ขนย้ายง่ายสะดวกกว่าการใช้เครื่องปั้นดินเผา ในสมัย นั้นกระออมหรือครุ จัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดขึ้นใหม่ ประชาชนจึงตื่นเต้นเห็นเป็นของวิเศษ ส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในบุญบารมี ของพระร่วง ข้าศึกขอมกลัวเกรงพากันหลบหนีไป พระร่วงจึงเป็นหัวหน้าทำการสงครามรบชนะข้าศึก เป็นอิสรภาพพ้นอำนาจ จากขอมและตั้งประเทศไทยขึ้น เป็นกษัตริย์ปกครอง โดยยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีตั้งแต่นั้นมา
นอกจากนั้นในสมัยโบราณมีการทำเสื้อเกราะ ให้กับนักรบไทย สานด้วยหวายเพื่อป้องกันอาวุธของมีคมได้พอสมควร รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์โล่หวาย ทั้งนี้เพราะวัสดุหวายมีแรงยืดหยุ่นสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เหมาะในการทำหัตถกรรมเครื่องจักสาน มีความแข็งแรงทนทานดี
หลักฐานอื่นๆ ที่ปรากฎเรื่องราวของเครื่องจักสานคือภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังตามวัดวาอารามหลายแห่งในประเทศไทย เช่นในอุโบสถวัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนหลักฐานที่สำคัญซึ่งเพิ่งค้นพบคือภาพเขียนบริเวณหน้าผา ที่มีแนวขนานไปกับลำน้ำโขงเขตบ้านกุ่มอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นภาพรูปสัตว์ และสิ่งของที่มีรูปร่างคล้ายเครื่อง จักสานสำหรับจับสัตว์น้ำ พบเห็นได้ตามลำน้ำโขงทั่วไป คือ สุ่มหรือข้องจึงเป็นหลักฐานเครื่องยืนยันว่าเครื่องจักสานไม้ไผ่หรือหวาย มีการทำขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ครั้งโบราณกาลและสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน
การทำงานหัตถกรรมเครื่องจักสานของไทย มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม ช่างสานคือเกษตรกรรมในชนบท จะใช่ช่วง เวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนา เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาผลิตงานหัตถกรรมด้วยใจรัก เพื่อความสุขความเพลิด เพลินตลอดจนสนองประโยชน์ใช้สอยต่อตนเองและครอบครัว รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่และหวาย จึงเป็นศิลปหัตถกรรม พื้นบ้านที่มีความงามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกของความคิดเฉลียวฉลาด ตลอดจนความ สามารถของช่างสานในการเข้าใจวัสดุไม้ไผ่และหวายผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ส่งผลให้มีการพัฒนารูป แบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเป็นจำนวนมาก
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์หวาย
พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย
ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวาย ตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษา การพัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนครอีกด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการ ส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิด ต่างๆ ของประเทศไทยแล้วยังได้ใช้เป็นสถานศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์หวาย เศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย